๑.๓ การขยายกระบวนการจัดการงานอาชีพในชุมชน
1. การกำหนดแนวทางขยายอาชีพ
1.1 เหตุผลการขยายขอบข่ายอาชีพ
เหตุผลความจำเป็นในอาชีพที่กล่าวไว้ในเบื้องต้นสามารถสรุปเหตุผลของการขยายขอบข่ายอาชีพได้
ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
2. สภาพแวดล้อมทางสังคม
3. สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม
4. สภาพแวดล้อมทางสิ่งแวดล้อม
ในการปฏิบัติเหตุผลในการขยายขอบข่ายอาชีพ
ในแต่ละสภาพแวดล้อมนั้นไม่อิสระต่อกัน แต่มี
ความเชื่อมโยงผูกพันกัน
และเป็นไปเพื่อการเพิ่มรายได้ของอาชีพหลักที่จะผลิตผลมาหมุนเวียนเปลี่ยนรูปสร้าง
มูลค่าเพิ่ม ดังตัวอย่างตามแผนภูมินี้
1.2 ความคิดรวบยอดของหลักการขยายอาชีพ
ในการกำหนดแนวทางขยายอาชีพ
เราควรสรุปกิจกรรมหลักของการขยายอาชีพให้มองเห็นชัดเจน
เป็นความคิดรวบยอดที่ประกอบด้วย
ปัจจัยนำเข้าเพื่อการขยายอาชีพ คืออะไร กระบวนการผลิตทำอย่างไร
และสุดท้ายจะเกิดอะไรขึ้น ดังตัวอย่างนี้
ใช้ยอดและหัวมันเทศไม่ได้มาตรฐาน
มาแปรรูปเป็นอาหารให้หมูกิน ใช้เวลาเลี้ยงไม่เกิน 4 เดือนจะได้น้ำหนัก
เฉลี่ยตัวละ 90 กก.
1.3 วิเคราะห์พอเพียงในการดำเนินงาน
เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากผู้เรียน
สามารถหาเหตุผลและสร้างความคิดรวบยอดได้ แล้วนำความเข้าใจ
มาวิเคราะห์หาปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการผลิต
ประกอบด้วย ผลผลิตที่จะทำการลดต้นทุน และตัวแปร
ความพอเพียงที่ประกอบด้วยความมีเหตุผล
ความพอเพียง ภูมิคุ้มกัน ความรอบรู้และคุณธรรม ผลการวิเคราะห์จะทำให้มองเห็นสิ่งที่เกิด
และสิ่งที่จะต้องทำในขอบเขตของความพอเพียง ดังนี้
ตัวอย่าง : ตารางแสดงผลการวิเคราะห์หาปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกิจกรรมขยายอาชีพกับตัวแปรเศรษฐกิจ
พอเพียง
1.4 การกำหนดแนวทางขยายอาชีพ
หลังจากนำความคิดรวบยอดการขยายขอบข่ายอาชีพมาวิเคราะห์ความพอเพียงในการดำเนินการ
จะทำให้เราเห็นสภาพปฏิสัมพันธ์
ระหว่างตัวแปรการผลิตกับตัวแปรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่จะบอกให้เรารู้
ว่าความคิดการขยายอาชีพเหมาะสมที่จะทำหรือไม่จากตัวอย่างการวิเคราะห์เราจะพบว่าตัวแปรทางปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงจะควบคุมความคิดของเราให้อยู่ในขอบข่ายที่เหมาะสมมีภูมิคุ้มกัน
โอกาสประสบความสำเร็จมีสูงการกำหนดแนวทางของอาชีพ จึงอาศัยความรู้ที่ได้จากผลการวิเคราะห์มากำหนดโดยใช้วงจร I-P-O(ปัจจัยนำเข้า-กระบวนการ-ผลผลิต)
เป็นฐานในการกำหนดแนวทางขยาย อาชีพดังตัวอย่างนี้
จากแนวทางการขยายอาชีพดังกล่าวนี้
จะทำให้เรามองเห็นภาพชีวิตของงานอย่าง แจ่มชัดด้วยตนเอง
สามารถนำไปสู่การเรียนรู้เพื่อการขยายขอบข่ายอาชีพสู่ความเข้มแข็ง
ยั่งยืนต่อไป
1.5 การจัดการความรู้
กรอบความคิดการจัดการความรู้
จากรูปสามารถอธิบายได้ว่า
การจัดการความรู้เป็นรูปแบบที่มีองค์ประกอบร่วม คือองค์กรหรือบุคคล
ในการประกอบอาชีพ
กรอบความรู้ของอาชีพ และการปฏิบัติการอาชีพที่มีเป้าหมายสร้างความเข้มแข็ง มั่นคง
ยั่งยืนให้กับอาชีพ
ดังนั้นการประกอบอาชีพจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนากรอบความรู้ของตนเองให้ยกระดับความรู้พอเพียงที่จะใช้ปฏิบัติการ
สร้างอาชีพสู่ความเข้มแข็งยั่งยืนของกลุ่มอาชีพจากสาระข้างต้นอาจจะสรุปรูปแบบการจัดการความรู้ได้เป็น 2 ขั้นตอน คือ
1. การยกระดับความรู้ของการประกอบอาชีพ
2. การปฏิบัติการใช้ความรู้สร้างความเข้มแข็ง
มั่นคง ยั่งยืน ให้อาชีพ (จะกล่าวในบทต่อไป)
การยกระดับความรู้ของการประกอบอาชีพ
เป็นกิจกรรมจัดการกรอบความรู้ของการประกอบอาชีพ
ให้ยกระดับความรู้สูงขึ้นเป็นระยะ
ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้ปฏิบัติการในระบบของธุรกิจอาชีพให้เกิดความ
เข้มแข็ง ยั่งยืน
ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมไม่น้อยกว่า 5 กิจกรรม คือ
1. กำหนดหัวข้อความรู้เพื่อใช้พัฒนาธุรกิจอาชีพว่าควรจะมีหัวข้อความรู้อะไรบ้าง
ที่สามารถ
ครอบคลุมใช้พัฒนาการดำเนินสู่ความเข้มแข็งมั่นคงยั่งยืนได้
2. การแสวงหาความรู้
เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากการระบุหัวข้อความรู้ คณะทำงานของกลุ่มอาชีพ
จะต้องปฏิบัติการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากภูมิปัญญาในกลุ่มอาชีพและแหล่งความรู้ต่าง
ๆ โดยใช้
กระบวนการ ดังนี้
3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เพื่อสรุปแนวทางการพัฒนาเป็นกิจกรรมที่ให้คณะทำงานแยกกันไป
แสวงหาความรู้
ทำผลสรุปความรู้ หลักฐานร่องรอยต่าง ๆ มานำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกันสรุปจัดเข้า
ระบบงานที่เป็นรูปแบบแนวทางเพื่อการพัฒนา
4. การประยุกต์ใช้ความรู้
เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการนำรูปแบบแนวทาง
มาทดลองประยุกต์ใช้ความรู้
ความจริง บันทึกผลการทดลอง ทดลองซ้ำ จนมั่นใจในข้อมูล นำผลการทดลองที่ได้
แล้วประเมินสรุปผล
5. การสรุปองค์ความรู้
เป็นการนำข้อมูลสารสนเทศ ผลสรุปการทดลองมาเขียนเป็นเอกสารคู่มือ
ดำเนินงานที่ประกอบด้วย
1) ภาพรวมระบบของงาน
2) ระบุคุณภาพและมาตรฐานของผลผลิตที่ต้องเกิดขึ้น
3) ระบุกิจกรรมแสดงขั้นตอนการจัดการปฏิบัติการใช้ภาษาที่รัดกุม
สามารถเรียนรู้ทำตามได้
4) ระบุปัจจัยดำเนินงานและมาตรฐานที่ต้องการเอกสารคู่มือดำเนินงานหรือองค์ความรู้
จะเป็นเอกสารความรู้ใช้ดำเนินงานและควบคุมการทำงานให้เกิดคุณภาพได้ จึงเป็นความรู้ที่ถูกยกระดับให้สูงขึ้นเป็นระยะ
ๆ อย่างต่อเนื่อง ใช้ปฏิบัติการสร้างความสำเร็จความเข้มแข็ง มั่นคง ยั่งยืน ให้กลุ่มอาชีพ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น