หน่วยที่ 3 การตัดสินใจเลือกขยายอาชีพ
เรื่องที่ ๓.1 ภารกิจเพื่อความมั่นคงในการทำธุรกิจความมั่นคงในอาชีพเป็นเรื่องที่ต้องสร้างต้องทำด้วยตนเอง
โดยมีภารกิจไม่น้อยกว่า
5 ภารกิจที่จะต้องเรียนรู้สร้างองค์ความรู้สำหรับตนเองสู่การพึ่งพาตนเองได้
ดังนี้
1. บทบาทหน้าที่ของตนเองที่มีต่อธุรกิจ
2. การบริหารทรัพยากรดำเนินธุรกิจ
3. การบริหารการผลิต
4. การจัดการส่งมอบผลิตภัณฑ์
5. การวิจัยพัฒนา
1.1 ความหมายของความมั่นคงในการทำธุรกิจอาชีพความมั่นคงในอาชีพ
หมายถึง สภาพอาการของความต่อเนื่องและทนทานในการดำเนินการธุรกิจไม่ให้กลับกลายเป็นอื่นบทบาทหน้าที่ของตนเอง
หมายถึง บทบาทที่เจ้าของธุรกิจผู้ประกอบอาชีพจะต้องทำด้วยตนเองทำอย่างลึกซึ้งการบริหารทรัพยากร
หมายถึง หน้าที่ควบคุมดำเนินการใช้ทรัพยากรให้เป็นไปตามข้อกำหนดของงานธุรกิจที่ทำอยู่การบริหารการผลิต
หมายถึง หน้าที่ควบคุมดำเนินการให้ก่อเกิดผลิตผลขึ้นด้วยแรงงานคน หรือเครื่องจักรผลิตผล
หมายถึง ผลที่เกิดขึ้น เช่น ปลูกมะม่วงได้ผลเป็นมะม่วงผลิตภัณฑ์ หมายถึง สิ่งที่ทำขึ้น
เช่น การดองหัวผักกาดขาว สิ่งทำขึ้น คือ หัวไช่โป๊เค็มการวิจัยพัฒนาอาชีพ หมายถึง การค้นคว้าข้อมูลวิธีการและสรุปผลอย่างถี่ถ้วนเพื่อทำให้อาชีพเจริญ
1.2 ภารกิจเพื่อความมั่นคงในอาชีพ
การที่เราขยายขอบข่ายอาชีพออกไปนั่นหมายถึงว่าธุรกิจของเราขยายแตกตัวออกไปหลายกิจกรรม
มีการจัดการที่ต้องลงทุนมากขึ้น
มีผู้มาเกี่ยวข้องมากขึ้นโดยลำดับ ดังนั้น การที่จะสร้างความมั่นคงอาชีพไม่ให้
เสียหาย จำเป็นต้องมีภารกิจเพื่อสร้างความยั่งยืนในอาชีพ
อย่างน้อย
5 ภารกิจ ดังนี้
1. บทบาทหน้าที่เจ้าของธุรกิจ มีหน้าที่จะต้องกำหนดทิศทางธุรกิจที่ผู้ประกอบอาชีพจะต้อง
กำหนดทิศทางของธุรกิจว่าจะไปทางไหนให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ
สังคมที่เป็นอยู่ และจะเกิดขึ้น
ในอนาคต มีกิจกรรมที่จะต้องทำ 2 เรื่องดังนี้
1.1 การกำหนดวิสัยทัศน์
เป็นการกำหนดทิศทางของอาชีพที่จะเป็นหรือจะเกิดในอนาคต 3-5 ปี
ข้างหน้าอย่างรอบคอบ
และเป็นไปได้ด้วยตนเอง การกำหนดวิสัยทัศน์ สามารถคิดแสวงหาความรู้ ความเข้าใจ
กำหนดข้อความวิสัยทัศน์
แล้วตรวจสอบความเป็นไปได้ จนมั่นใจจึงกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ที่จะเกิดกับอาชีพ
ต่อไป
1.2 การจัดทำแผนพัฒนาอาชีพ
ใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาอาชีพให้เข้าสู่วิสัยทัศน์ให้ได้ด้วย
การกำหนดภารกิจ
วิเคราะห์ภารกิจกำหนดกลยุทธ์สู่ความสำเร็จ วิเคราะห์กลยุทธ์ กำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
และจัดทำแผนปฏิบัติการ
2. การบริหารทรัพยากรดำเนินการ เป็นการจัดการให้เกิดระบบการควบคุม
การใช้ทรัพยากรให้
คุ้มค่ามากที่สุด
และเกิดของเสียให้น้อยที่สุด ได้แก่
2.1 การวางแผนใช้แรงงานคนและจัดคนคนงานให้เหมาะสม
ทำงานและสร้างผลผลิตได้มากที่สุด
ปัจจัยการผลิตเสียหายและใช้เวลาน้อยที่สุด
2.2 ระบบการควบคุมวัสดุอุปกรณ์และปัจจัยการผลิตไม่ให้รั่วไหลหรือใช้อย่างด้อยประสิทธิภาพ
ในทุกขั้นตอนการผลิต
2.3 การควบคุมการเงิน
ค่าใช้จ่าย รายได้ต่าง ๆ ให้ชัดเจน ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
3. การบริหารการผลิต เป็นการควบคุมการดำเนินงานให้เกิดผลซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการบริหาร อย่างน้อย 3 กิจกรรม ดังนี้
3.1 การควบคุมคนทำงานให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดด้วยการจัดให้มีเอกสารขั้นตอนการทำงานที่คนทำงานจะใช้ความรู้สึก
ประสบการณ์ของตนเองเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ได้อย่างเด็ดขาด เพราะจะต้องทำไปตามที่กำหนด
เมื่อมีข้อบกพร่องจะสามารถตรวจสอบกลับไปยังต้นเหตุได้
3.2 การควบคุมระยะเวลาในเวลาเคลื่อนไหวของงานให้อัตราการไหลเป็นไปตามข้อกำหนด
3.3 การตรวจสอบคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่เสียหายไม่ได้คุณภาพออกจากของดี
เพราะจะสร้าง
ความเชื่อถือ ความภักดีต่อลูกค้าที่เชื่อมั่นว่าสินค้าจากสถานประกอบการที่มีคุณภาพจะไม่ผิดหวัง
4. การจัดการส่งมอบผลิตภัณฑ์ เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการอาชีพจะต้องพัฒนาระบบการ
ส่งมอบผลผลิตให้ถึงมือลูกค้าได้ตามข้อกำหนดในเรื่องต่าง
ๆ ดังนี้
4.1 การบรรจุภัณฑ์เพื่อการปกป้องผลผลิตไม่ให้เสียหาย
บรรจุภัณฑ์เป็นตัวเร้าให้ลูกค้าสนใจใน
ผลผลิต จึงต้องมีการออกแบบให้เรียบร้อย
สวยงามตรงกับลักษณะของผลผลิตซึ่งเป็นการส่งเสริมการขาย
ที่สำคัญ
4.2 การส่งสินค้า
มีหลายรูปแบบที่จะนำสินค้าไปถึงลูกค้าได้อย่างปลอดภัย สามารถเลือก
วิธีการที่เอกชนและภาครัฐจัดบริหารให้หรือจัดส่งเอง
4.3 การจัดการเอกสารส่งมอบ
ใช้เพื่อควบคุมให้ทราบถึงผลผลิตที่นำออกไป มีปริมาณเท่าใด
ไปถึงลูกค้าด้วยวิธีใด
และได้รับหรือไม่
5. การวิจัยพัฒนา เป็นการดำเนินงานให้ธุรกิจที่ทำได้อยู่ในกระแสของความนิยม
และก้าวทันต่อ
การเปลี่ยนแปลง
ดังนี้
5.1 ติดตามข้อมูลกระแสความนิยมในสินค้าผลิตผลที่เราทำว่ายังอยู่ในกระแสนิยมอย่างไร
5.2 ติดตามประเมินเทียบเคียงคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เราแข่งขันอยู่
และสภาวะตลาดเป็นอย่างไร
5.3 ดำเนินการวิจัยพัฒนา
ด้วยการค้นคว้าหาข้อมูลอย่างดี สร้างองค์ความรู้พัฒนาผลผลิตให้
อยู่ในกระแสความนิยมหรือเปลี่ยนโฉมออกไปสู่ตลาดประเภทอื่น
ๆ
กิจกรรมทั้ง 5 กิจกรรมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความมั่นคงในธุรกิจ
1.3 การคิดสร้างสรรค์กำหนดกิจกรรมในภารกิจสร้างความมั่นคง
จากสาระความเข้าใจภารกิจเพื่อความมั่นคงในอาชีพเป็นการนำเสนอแนวคิดที่เป็นธุรกิจค่อนข้าง
ขนาดใหญ่ ดังนั้นผู้เรียนจึงจำเป็นต้องคิดสร้างสรรค์เพื่อตนเองว่าธุรกิจของเราจะทำอะไรบ้าง
แค่ไหน และ
อย่างไร ตัวอย่าง
ธุรกิจไร่ทนเหนื่อย
เป็นธุรกิจขยายแล้ว
ดำเนินการผลิตผักสดผลไม้ในระบบเกษตรอินทรีย์บนพื้นที่ 130 ไร่ ระบบการ
บริหารจัดการด้านต่าง
ๆ ต้องลงมือทำด้วยตนเองในครอบครัวเพียง 3 คน ภารกิจสร้างความมั่นคงจะต้อง
คิดสร้างสรรค์ออกแบบให้เหมาะสมกับตนเอง
ตัวอย่างบทบาทหน้าที่เจ้าของธุรกิจ ซึ่งจะต้องกำหนด
ทิศทางและแผนงานด้วยตนเอง
ด้วยการกำหนดวิสัยทัศน์ จัดทำแผนควบคุมเชิงกลยุทธ์และโครงการพัฒนาที่
จำเป็น และมีพลังทำให้การขับเคลื่อนการทำงานเข้าสู่และเป็นไปตามวิสัยทัศน์ได้
ดังตัวอย่างการคิดสร้างสรรค์กำหนดทิศทางและแผนงานของไร่ทนเหนื่อย ดังนี้
ตัวอย่าง : แผนการควบคุมเชิงกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ “ปี 2551 ไร่ทนเหนื่อยผลิตผักสด ผลไม้อินทรีย์ เข้าสู่ตลาด
ประเทศสิงคโปร์ได้”
แผนควบคุมเชิงกลยุทธ์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น