๑.๔ คุณธรรม จริยธรรม
การขยายกระบวนการจัดการงานอาชีพของตนเองให้มีความมั่นคงในธุรกิจอาชีพ
ผู้ประกอบอาชีพ
จะต้องมีคุณธรรม
จริยธรรม
หลักการพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาอาชีพ
1. การพัฒนาตนเองตามแนวพระราชดำริ
1.1 ความรู้ ความสามารถ
ในข้อนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเน้นว่า
ควรเป็นความรู้ความสามารถที่เบ็ดเสร็จของผู้ปฏิบัติ
ประกอบกับความมีระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติงาน
อันจะเป็นปัจจัยที่ทำให้การทำงานได้ผล
1.2 การรู้จักการประยุกต์ใช้ในข้อนี้
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงย้ำว่า
การจะทำงานให้สำเร็จ
ผู้ปฏิบัติต้องรู้จักประยุกต์ใช้ดังนี้
1) พิจารณาให้รอบคอบก่อนที่จะประกอบกิจการใด
ๆ
2) พิจารณาให้วางใจเป็นกลาง
จะช่วยให้ปฏิบัติได้ถูกต้องเหมาะสม
3) พิจารณาถึงสภาพความเป็นอยู่ของท้องที่และผลสะท้อนที่อาจเกิดขึ้น
4) พยายามหยิบยกทฤษฎีทางวิชาการมาปรับใช้ให้เหมาะสม
1.3 การคิดอย่างรอบคอบ
ในข้อนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ทรงแนะนำว่า
1) ใช้ความคิดให้เป็นเครื่องช่วยความรู้
จะได้ใช้ความรู้ให้ถูกต้อง
2) ใช้ความจริงใจอันเที่ยงตรงตามเหตุผล
และมีความเที่ยงธรรม จะได้สร้างสรรค์
ประโยชน์ได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ
1.4 การใช้ปัญญา ในข้อนี้
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงอธิบายว่า
“การประมาทหมิ่นปัญญาคนอื่น
ไม่ยอมทำตามความคิดและความรู้ของคนอื่นนี่แหละเป็นเหตุ
สำคัญที่ทำให้งานอื่น
ๆ หยุดชะงัก ต้องเริ่มใหม่อยู่ร่ำไป จะต้องล้มเหลวมากกว่าครั้งที่แล้ว ผู้มีความคิดควร
จะต้องเข้าใจว่า
ปัญญาของผู้อื่นที่เขาคิดมาดีแล้ว ใช้ได้มาดีแล้ว ในงานนั้นย่อมเป็นพื้นฐานอย่างดีสำหรับเรา
ที่จะก่อสร้างเสริมความรู้งอกงามมั่นคงต่อไป
การประมาทปัญญาผู้อื่นเท่ากับไม่ได้ใช้พื้นฐานที่มีอยู่แล้วให้เป็น
ประโยชน์” นอกจากนี้ยังมีสาระสำคัญพอที่จะสรุปได้ คือ
1) ปัญญา คือ ความรู้ผนวกกับความเฉลียวฉลาด
จัดเป็นความสามารถพิเศษที่มีอยู่ใน
ตัวบุคคล
2) ต้องใช้ปัญญาในการคิดอ่านอยู่เสมอ
จึงจะมั่นคงแข็งแรง เพราะทุกคนจำเป็นต้องใช้
ปัญญาตลอดชีวิต
3) ไม่ควรประมาทปัญญาของตนและผู้อื่น
ดังแนวพระบรมราโชวาทที่พระราชทานไว้
1.5 การมีสติและสงบสำรวม
ในข้อนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมี
พระราชดำรัสกล่าวโดยสรุปว่า
สติเป็นคู่กับปัญญา และทรงใช้ความหมายของสติว่าเป็นความระลึกได้ ความรู้
ความไม่วิปลาส
ความรู้จักรับผิดชอบ ส่วนคำว่า “สงบสำรวม” หมายถึงความ
เรียบร้อยเป็นปกติทั้งจิตใจและ
การกระทำ การรู้จักสำรวมระวังกายใจให้สงบเป็นปกตินั้น
จะช่วยให้มีการยั้งคิดในการทำงานทุกอย่าง
1.6 ความจริงใจและการมีสัจจะ
ในข้อนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสอนว่า
1) บุคคลผู้ปรารถนาความสำเร็จและความเจริญ
จะต้องเป็นผู้ที่ยอมรับความจริง และยึดมั่น
ในความจริง มีความจริงใจทั้งต่อตนเองและผู้อื่นอย่างมั่นคง
2) ต้องมีสัจจะ คือ
ความจริงใจในด้านคำพูดและการกระทำ และปฏิบัติให้ได้โดยเคร่งครัด
ครบถ้วน
1.7 การมีวินัย ในข้อนี้
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงอธิบายว่า บุคคลผู้มี
วินัย คือ คนมีระเบียบ
ได้แก่ ระเบียบในการคิดและการกระทำ ผู้ใดไม่มีระเบียบไว้ ถึงแม้จะมีวิชา เรี่ยวแรง
ความกระตือรือร้นอยู่เพียงไรก็มักทำงานให้เสร็จดีไม่ได้
เพราะความคิดอ่านว้าวุ่นสับสนที่จะทำอะไรก็ไม่ถูก
ตามลำดับขั้นตอน
มีแต่ความลังเล ความขัดแย้งในความคิด ทั้งในการปฏิบัติงาน การมีวินัย หมายถึง การมี
ระเบียบ จำแนกเป็น 2 ประเภท
1) วินัยทางกาย คือ
การปรับกิริยามารยาทให้เป็นผู้ที่รู้จักขวนขวายหาความรู้ เพื่อนำไปสู่
ความสำเร็จ
2) วินัยทางใจ คือ
การเป็นผู้ที่รู้จักยั้งคิดและคิดอย่างมีเหตุผล การรู้จักประสานกับผู้อื่น
ในข้อนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ทรงแนะนำว่า
(1) งานแต่ละชิ้นจะต้องปฏิบัติให้ประสานสอดคล้องกัน
และพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน
ฉะนั้น ต้องมีการเตรียมตัวที่จะปฏิบัติงานประสานกับผู้อื่นอย่างฉลาด
(2) ต้องเปิดใจให้กว้าง หนักแน่นและมีเหตุผล
มีวิจารณญาณ เห็นแก่ประโยชน์
ส่วนรวมเป็นหลัก
1.8 การสร้างสรรค์และพัฒนา
ในข้อนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงย้ำว่า
1) การสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าต้องเริ่มที่การศึกษาพื้นฐานเดิมมาก่อน
รักษาส่วนที่มี
อยู่แล้วให้คงไว้
และพยายามปรับปรุงสร้างเสริมโดยอาศัยหลักวิชา ความคิด พิจารณาตามกำลังความสามารถ
2) การพัฒนาปรับปรุงควรค่อย
ๆ ทำด้วยสติ ไม่ต้องรีบร้อน ผลที่เกิดขึ้นจะแน่นอนและ
ได้ผลดี
1.9 การวางแผนในการทำงาน
ในข้อนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ทรงแนะนำว่า
1) งานทุกอย่างจำเป็นต้องมีโครงการที่แนนอนสำหรับดำเนินงาน
2) ตั้งเป้าหมาย ขอบเขต
และหลักการไว้อย่างแน่นอน เพราะจะช่วยให้ปฏิบัติได้รวดเร็ว
และถูกต้องเหมาะสม
3) ต้องมีอุดมการณ์และหลักที่มั่นคง
จึงจะทำงานใหญ่ ๆ ได้สำเร็จ
4) ต้องมุ่งมั่นทำงานด้วยความซื่อสัตย์และมีคุณธรรม
2. การพัฒนาตนเองตามแนวพุทธศาสนา
2.1 ทาน คือ การให้
เป็นหลักปฏิบัติในการพัฒนาตนเองสำหรับที่จะใช้ในการเกื้อหนุน
จุนเจือซึ่งกันและกัน
2.2 ศีล คือ การรักษา
กาย วาจา ใจ ให้ตั้งอยู่อย่างปกติ ไม่เบียดเบียนกันความสงบสุข
ย่อมเกิดขึ้น
2.3 ปริจาคะ คือ การสละสิ่งที่เป็นประโยชน์น้อย
เพื่อประโยชน์ที่มากกว่า การสละเพื่อ
รักษาหน้าที่ รักษากิจที่พึงกระทำ
รักคุณความดี เพื่อความสุข ความเจริญในการอยู่ร่วมกัน
2.4 อาชวะ คือ ความเป็นผู้ซื่อตรงต่อตนเอง
บุคคล องค์กร มิตรสหาย หน้าที่การงาน
2.5 มัทวะ คือ ความอ่อนโยน
มีอัธยาศัยไมตรี อ่อนโยน มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ ไม่ดื้อดึง
ถือตนวางอำนาจ
2.6 ตบะ คือ ความเพียร
ผู้มีความเพียรสามารถปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุล่วงสำเร็จได้ด้วยดี
มักเป็นผู้มีความอดทนสูง
2.7 อักโกธะ คือ ความไม่โกรธ
ตลอดจนไม่พยาบาทมุ่งทำร้ายผู้อื่น ความไม่โกรธมีขึ้นได้
เพราะความเมตตา
หวังความสุขความเจริญซึ่งกันและกัน
2.8 อหิงสา คือ การหลีกเลี่ยงความรุนแรง
และไม่เบียดเบียนหรือเคารพในชีวิตของผู้อื่น
คำว่า “อหิงสา” เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง การหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่เรียกว่า
หิงสา อหิงสาเป็นแก่นใน
ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู
และศาสนาเชน อหิงสา มีการกล่าวไว้ในปรัชญาอินเดีย ประมาณ 800 ปีก่อน
พุทธศักราช
2.9 ขันติ คือ ความอดทน
อดทนต่อการตรากตรำประกอบการงานต่าง ๆ อดทนต่อถ้อยคำ
ไม่พึงประสงค์
หรือสิ่งอันไม่ชอบใจต่าง ๆ ในการอยู่รวมกันของคนหมู่มาก
2.10 อวิโรธนะ คือ
ความไม่ผิด ผิดในที่นี้หมายถึง ผิดจากความถูกต้อง ทุกอย่างที่คนทั่วไป
ทำผิด เพราะไม่รู้ว่าผิด
หรือรู้ว่าผิดแต่ยังดื้อดึงทำ ทั้ง ๆ ที่รู้ ถ้าปล่อยเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ก็ไม่รู้จัก
ไม่อาจปฏิบัติ
ในสิ่งที่ถูกต้องได้เลย
3. คุณธรรมจริยธรรมในการประกอบอาชีพ
ผู้ประกอบการจะต้องมีคุณธรรม
จริยธรรม เกี่ยวกับเรื่องความรับผิดชอบใน การผลิตสินค้า
เช่น ความสะอาด
ความประณีต ความซื่อสัตย์ เข้าสู่ตลาด โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยต่อสุขภาพของ
ผู้บริโภค หรือการให้บริการที่ปลอดภัยแก่ผู้รับบริการ
ในส่วนตัวของผู้ผลิต
การประกอบอาชีพให้มีความมั่นคงได้ ผู้ประกอบการจะต้องมีคุณลักษณะ
เป็นคนขยัน ซื่อสัตย์
รู้จักประหยัด อดออม มีความพากเพียร มีอุตสาหะ เพื่อความมั่นคงในการพัฒนาอาชีพ
ของตนเองให้มีความมั่นคง
ศึกษาอาชีพในชุม
ตอบลบ